นายกฯ มุ่งบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้ชาวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
รุดติดตามการขุดลอกแม่น้ำสาย – แม่น้ำรวก ระยะเร่งด่วน ให้แล้วเสร็จก่อนเข้าสู่ฤดูฝนปี 68
วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2567) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย พล.ท.สิรภพ ศุภวานิช เจ้ากรมการทหารช่าง นายศรัณยู มีทองคำ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายชุมลาภ เตชะเสน ผู้ช่วยเลขาธิการ สทนช. นายประสงค์ หล้าอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้บริหาร สทนช. และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมแผนที่ทหาร แม่ทัพภาคที่ 3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมธนารักษ์ กรมเจ้าท่า กรมอุทกศาสตร์ นายอำเภอเชียงแสน นายอำเภอแม่สาย เป็นต้น ร่วมประชุมหารือและลงพื้นที่สำรวจเตรียมความพร้อมการจัดทำแผนการขุดลอกและปรับปรุงแม่น้ำสาย จังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเร่งฟื้นฟูแม่น้ำสายที่เสื่อมโทรมจากปัญหาตะกอนดินโคลนทับถมจำนวนมากจากสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา
สทนช.1 ลงพื้นที่ตรวจสอบฝายดอยน้อย เรื่องการยกบานประตูระบายน้ำ พร้อมรับฟังปัญหา เตรียมช่วยผลักดันงบประมาณเพื่อนำมาปรับปรุงฝายให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วันจันทร์ ที่ 7 ต.ค. 2567 นายอนันต์ เพ็ชร์หนู ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 พร้อมด้วยนายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ นายวิสูตร จันทร์เขียว หัวหน้าฝ่ายช่างกล และนายณรงค์ วงศ์จันทร์ทิพย์ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 7 โครงการชลประทานเชียงใหม่ ร่วมตรวจสอบฝายดอยน้อย ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ประเด็นปัญหาบานประตูระบายน้ำ และการแก้ไขสลิงบานประตู รวมถึงคันกั้นน้ำฝั่งซ้ายด้านหน้าฝายดอยน้อย พื้นที่บ้านท่าไม้ ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
นายอนันต์ เพ็ชร์หนู กล่าวว่า จากที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมที่เชียงใหม่ เลขา สทนช. ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล ก็ได้สั่งการให้ สทนช.ภาค 1 ประสานงานร่วมกับ โครงการชลประทานเชียงใหม่ ในประเด็นบานระบายน้ำฝายดอยน้อย จากการตรวจสอบดูทราบว่า บานประตูระบายน้ำฝายดอยน้อยทั้ง 6 บาน สามารถใช้งานได้อยู่ แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยใน 6 บาน มี 1 บาน สามารถยกบานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 5 บาน สามารถยกบานได้ 50 เปอร์เซ็นต์ คือ 2.5 – 3 เมตร ทำให้ปริมาณน้ำน้ำในลำน้ำปิงที่ระบายผ่านประตูระบายน้ำลดลงเล็กน้อย จาก 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที เหลือ 800 ลบ.ม.ต่อวินาที
นายอนันต์ฯ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์ช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมา เกิเน้ำล้นฝั่งซ้ายของลำน้ำปิง โดยล้นข้ามไปในจุดที่เรียกว่าทางระบายน้ำเดิมที่ทำไว้ช่วงทำการก่อสร้างฝายดอยน้อย น้ำก็จะออกตรงนั้นไปและสร้างความเสียหายในพื้นที่เกษตรบ้าง เพราะเป็นลักษณะน้ำไหลผ่านแล้วก็จะไปไหลลงแม่น้ำปิงในตอนท้ายฝายดอยน้อยอีกครั้ง
กิจกรรมครั้งนี้เป็นการทบทวนการทำงานที่ผ่านมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในปีถัดไป รวมถึงการเสริมสร้างความสามัคคีและส่งเสริมให้บุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภารกิจของแต่ละกลุ่มงานให้ ประสานสอดคล้องการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โดยกิจกรรมถอดบทเรียนครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบทบาทของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การเสนอความคิดในการรับมือพัฒนาแนวทางการทำงานในอนาคต เพื่อให้เป็นแนวทางการทำงานของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค1 บรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศต่อไป
นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วย นายอนันต์ เพ็ชร์หนู ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค1 และ เจ้าหน้าที่ ได้ทำการต้อนรับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมรับฟังข้อสั่งการนายกฯ ทั้งนี้ นายกฯ ได้มอบเงินเยียวยา และให้กำลังใจผู้ประสบภัย ณ ห้องประชุมท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
โดยช่วงเช้า สทนช. และคณะ ได้ทำการตรวจสอบสถานการณ์อุทกภัย บริเวณที่ทำการ สำนักงานโขงเหนือ ที่โดนน้ำท่วมเสียหาย,น้ำแม่ลาว และได้ไปดูสถานีวัดน้ำ g8 กับ g10
ผลการตรวจติดตามสถานการณ์น้ำแม่ลาว สถานีวัดระดับน้ำแม่ลาว g8 บ้านต้นยางและ g10 บ้านโปร่งปูเฟือง จากสถานการน์ฝนตกหนัก เมื่อวันที่ 21 – 23 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา จากอิธิพลพายุซูริกบริเวณ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำแม่ลาว ส่งผลให้ เกิดน้ำป่าไหลหลาก ได้รับความเสียหาย และน้ำแม่ลาวเพิ่มระดับสูงขึ้น ตลอดลำน้ำก่อนไหลลงสู่แน่น้ำกก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ซึ่งปัจจุบันลดระดับลงสู่สภาพปกติแล้ว
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 นายอนันต์ เพ็ชร์หนู ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค ๑ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สทนช.1 ลงพื้นที่ติดตามสถานกาณ์น้ำลุ่มน้ำวัง ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และติดตามสถานี วัดระดับน้ำทั้ง 3 จุด คือ สถานี W.10B บ้านดอนมูล สถานี W.21 บ้านท่าเดื่อ และสถานี W.1C สะพานเสตุวารี
เนื่องจากปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนกิ่วลมจากผลการระบายของเขื่อนกิ่วคอหมา ลำน้ำแม่สอย ลำน้ำน้ำสาขาอื่นๆ ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนกิ่วลมประมาณ ๒๗๗.๓๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งใกล้จะเต็มความจุที่ระดับเก็บกัก จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนกิ่วลม โดยจะทำการระบายน้ำเพิ่มด้วยอัตรา ๒๒๑ – ๓๖๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และ เพิ่มการระบายครั้งละ ๑๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทุกครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้จะเริ่มระบายด้วยอัตรา ๒๒๑ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่เวลา ๒๐.๐๐ น. ของวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ และจะระบายด้วยอัตราสูงสุดที่ ๓๒๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในเวลา ๐๑.๐๐ น. ของวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะทำให้ระดับในแม่น้ำวังเพิ่มสูงขึ้นชั่วโมงละ ๒๐ – ๘๕ เซนติเมตร จากระดับน้ำปัจจุบัน ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. ในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ จนถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
ผลจากการระบายน้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำในเขตอำเภอเมืองลำปาง จะได้รับผลกระทบในช่วงเช้าของวันที่ 25 กันยายน 2567 ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำวังจะมีความสูงเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ถนนเรียบน้ำวังตลอดสายในเขตเทศบาลนครลำปางได้รับผลกระทบ และทางพื้นที่จึงได้มีการแจ้งเตือนบ้านเรือนที่อยู่ติดริมน้ำวัง ให้รีบขนของขึ้นที่สูงเอาไว้ก่อน เคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในที่ปลอดภัย รวมถึงพื้นที่อำเภอเกาะคา อำเภอสบปราบ อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ที่จะรับน้ำต่อจากเขตเทศบาลนครลำปาง ให้เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป