- (01) ลุ่มน้ำสาละวิน
- (02) ลุ่มน้ำโขงเหนือ
- (06) ลุ่มน้ำปิง
- (07) ลุ่มน้ำวัง
- (08) ลุ่มน้ำยม
- (09) ลุ่มน้ำน่าน
-
แผนที่ครอบคลุม 6 ลุ่มน้ำ
-
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2561 – 2580)
วิสัยทัศน์
ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ไว้ ดังนี้ “ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”ด้านที่ ๑ การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค มีเป้าประสงค์ในการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชน ครบทุกหมู่บ้านหรือทุกครัวเรือน ชุมชนเมือง แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งการจัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่ซึ่งขาดแคลนแหล่งน้ำต้นทุน พัฒนาน้ำดื่มให้ได้มาตรฐาน ในราคาที่เหมาะสม และการประหยัดน้ำ โดยลดการใช้น้ำภาคครัวเรือน ภาคบริการ และภาคราชการ
ด้านที่ ๒ การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำและระบบส่งน้ำใหม่ให้เต็มศักยภาพ พร้อมทั้งการจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพื่อขยายโอกาสจากศักยภาพโครงการ
ขนาดเล็กและลดความเสี่ยงในพื้นที่ไม่มีศักยภาพ ลดความเสี่ยง/ความเสียหายลง ร้อยละ ๕๐ รวมถึงการเพิ่มผลิตภาพและปรับโครงสร้างการใช้น้ำ โดยดำเนินการร่วมกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมเพื่อยกระดับผลิตภาพด้านน้ำทั้งระบบด้านที่ ๓ การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย มีเป้าประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การจัดระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง การจัดการพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ชะลอน้ำ รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ ในระดับลุ่มน้ำและพื้นที่วิกฤต (Area based) ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ ลุ่มน้ำสาขา/ลดความเสี่ยงและความรุนแรงลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐
ด้านที่ ๔ การจัดการคุณภาพน้ำ และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ป้องกันและลดการเกิดน้ำเสียต้นทาง การควบคุมปริมาณการไหลของน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ พร้อมทั้งพื้นฟูแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญในทุกมิติ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ
ด้านที่ ๕ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และป้องกันการพังทลายของดิน มีเป้าประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม การป้องกัน และลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่ลาดชัน
ด้านที่ ๖ การบริหารจัดการ มีเป้าประสงค์โดยการขับเคลื่อนการดำเนินการให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี อันประกอบด้วย การจัดทำกฎหมายรอง การจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำ และองค์ลุ่มน้ำเพื่อเป็นกลไกในการจัดทำแผนและขับเคลื่อนแผนงาน/แผนปฏิบัติการในระดับลุ่มน้ำ การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ โดยพัฒนาเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน
-
บทบาทหน้าที่ สทนช.1
(1) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
(2) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ
(3) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรผู้ใช้น้าในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู
และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า และกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางน้ำในเขตลุ่มน้าเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้า
(4) กลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำเกี่ยวกับการอนุญาตการใช้น้ำและการเพิกถอนใบอนุญาตการใช้น้าประเภทที่สอง
(5) ส่งเสริมและติดตามการใช้น้ำประเภทที่สองในเขตลุ่มน้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการลุ่มน้ำ
(6) เสนอมาตรการป้องกันการขัดแย้งและแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้น้ำในเขตลุ่มน้ำต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำ
(7 )ปฏิบัติงานอื่นตามที่เลขาธิการมอบหมาย
-
สทนช.1 ลงพื้นที่ตรวจสอบฝายดอยน้อย เรื่องการยกบานประตูระบายน้ำ
สทนช.1 ลงพื้นที่ตรวจสอบฝายดอยน้อย เรื่องการยกบานประตูระบายน้ำ พร้อมรับฟังปัญหา เตรียมช่วยผลักดันงบประมาณเพื่อนำมาปรับปรุงฝายให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วันจันทร์ ที่ 7 ต.ค. 2567 นายอนันต์ เพ็ชร์หนู ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 พร้อมด้วยนายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ นายวิสูตร จันทร์เขียว หัวหน้าฝ่ายช่างกล และนายณรงค์ วงศ์จันทร์ทิพย์ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 7 โครงการชลประทานเชียงใหม่ ร่วมตรวจสอบฝายดอยน้อย ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ประเด็นปัญหาบานประตูระบายน้ำ และการแก้ไขสลิงบานประตู รวมถึงคันกั้นน้ำฝั่งซ้ายด้านหน้าฝายดอยน้อย พื้นที่บ้านท่าไม้ ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
นายอนันต์ เพ็ชร์หนู กล่าวว่า จากที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมที่เชียงใหม่ เลขา สทนช. ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล ก็ได้สั่งการให้ สทนช.ภาค 1 ประสานงานร่วมกับ โครงการชลประทานเชียงใหม่ ในประเด็นบานระบายน้ำฝายดอยน้อย จากการตรวจสอบดูทราบว่า บานประตูระบายน้ำฝายดอยน้อยทั้ง 6 บาน สามารถใช้งานได้อยู่ แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยใน 6 บาน มี 1 บาน สามารถยกบานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 5 บาน สามารถยกบานได้ 50 เปอร์เซ็นต์ คือ 2.5 – 3 เมตร ทำให้ปริมาณน้ำน้ำในลำน้ำปิงที่ระบายผ่านประตูระบายน้ำลดลงเล็กน้อย จาก 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที เหลือ 800 ลบ.ม.ต่อวินาที
นายอนันต์ฯ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์ช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมา เกิเน้ำล้นฝั่งซ้ายของลำน้ำปิง โดยล้นข้ามไปในจุดที่เรียกว่าทางระบายน้ำเดิมที่ทำไว้ช่วงทำการก่อสร้างฝายดอยน้อย น้ำก็จะออกตรงนั้นไปและสร้างความเสียหายในพื้นที่เกษตรบ้าง เพราะเป็นลักษณะน้ำไหลผ่านแล้วก็จะไปไหลลงแม่น้ำปิงในตอนท้ายฝายดอยน้อยอีกครั้ง
“การแก้ไขในระยะเร่งด่วน ชลประทานเชียงใหม่ได้เสนอแผนงานโครงการขอรับงบประมาณเหลือจ่ายจากกรมชลประทาน เพื่อมาแก้ไขในส่วนที่สลิงดึงบานชำรุดเสียหาย ซึ่งได้รับงบประมาณมาแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมการที่จะดำเนินการ พอดีมีน้ำท่วมเข้ามาก่อน ส่วนงบในปี 68 ก็จะเป็นการนำมาซ่อมบำรุงเรื่องของบานประตูระบายน้ำ ระยะยาวในส่วยของคันกั้นน้ำฝั่งซ้ายที่น้ำได้ล้นเข้าไป ทางโครงการชลประทานเชียงใหม่จะเสนอแผนงานโครงการที่จะก่อสร้างเป็นทางน้ำล้นฉุกเฉิน (Emergency Spilway) สำหรับน้ำที่จะต้องล้นข้ามไปลงทางระบายน้ำเดิม แล้วจะมีการออกประกาศทางน้ำ คือที่ให้น้ำไหลผ่านช่วงฉุกเฉิน” ผอ.สนทช.ภาค 1 กล่าวสำหรับ สทนช. เป็นเลขานุการของคณะกรรมการลุ่มน้ำแห่งชาติ ทางหนึ่งจะช่วยสนับสนุนผลักดันงบประมาณ ที่จะมาดำเนินการแก้ปัญหาฝายดอยน้อย ทั้งระยะสั้น ระยะยาว เพื่อการปรับปรุง ซ่อมแซมฝายให้แล้วเสร็จ -
ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ลุ่มน้ำในเขตภาคเหนือ ครอบคลุม 6 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำสาละวิน (01) ลุ่มน้ำโขงเหนือ (02) ลุ่มน้ำปิง (06) ลุ่มน้ำวัง (07)
ลุ่มน้ำยม (08) และลุ่มน้ำน่าน (09)
ซึ่งการบริหารทรัพยากรน้ำจะบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการลุ่มน้ำ และพื้นที่จังหวัด จำนวน 14 จังหวัด ประกอบด้วย
จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก พะเยา พิจิตร แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ น่าน พิษณุโลก และแพร่
-
วิศัยทัศน์
“เป็นองค์กรชั้นนำในอาเซียนด้านการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการบนหลักธรรมาภิบาลภายในปี 2570“
-
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1 และคณะ ลงพื้นที่ตรวจติดตามปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวัง จังหวัดตาก
วันที่ 2 ตุลาคม 2567 ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1 และคณะ ลงพื้นที่ตรวจติดตามปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวัง จังหวัดตากนายอนันต์ เพ็ชร์หนู ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1 พร้อมด้วยนางสาวธวัลรัตน์ อุประนันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานลุ่มน้ำวัง และเจ้าหน้าที่ สทนช. ภาค 1 ลงพื้นที่ตรวจติดตามและชี้แนะแนวทางเกี่ยวกับปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวัง ของตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก และตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในการนี้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ตำบลแม่สลิด และตำบลยกกระบัตรเข้าร่วมการตรวจติดตาม และรับฟังการชี้แนะแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำดังกล่าว ทำให้เห็นถึงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐ ในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ รวมถึงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่