คำสั่ง คสช. 46/2560 ตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ องค์กรกลางด้านน้ำ 1 ใน 3 เสาหลัก สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง
คำสั่ง คสช. 52/2560 แต่งตั้งนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ เริ่มมี การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และกำลังคน
มีการยืมตัวข้าราชการจากกรมทรัพยากรน้ำจำนวน 8 คน และจากกรมชลประทาน จำนวน 13 คน เกิดกรอบโครงสร้างหน่วยงาน 6 สำนัก/กอง/ศูนย์ ประกอบด้วย สำนักงานเลขาธิการ กองนโยบายและยุทธศาสตร์ กองวิเคราะห์โครงการและงบประมาณ กองบริหารจัดการลุ่มน้ำ ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
คำสั่ง คสช. 2/2561 เปลี่ยนชื่อหน่วยงาน เป็น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. แต่งตั้งนาย สำเริง แสงภู่วงค์ เป็นรองเลขาธิการ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งให้ข้าราชการจากกรมชลประทาน จำนวน 55 คน และกรมทรัพยากรน้ำ จำนวน 26 รวม 81 คน ปฏิบัติราชการที่ สทนช. 180 วัน.
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการประกาศให้ สทนช. มีภารกิจ เสนอแนะนโยบาย จัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนแม่บท มาตราการสู่การปฏิบัติ บูรณาการข้อมูลสารสนเทศ แผนงาน โครงการ งบประมาณ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
โอนข้าราชการ กรมชลประทานจำนวน 55 คน และกรมทรัพยากรน้ำ 26 คน มาที่ สทนช
มีการโอนรับและสรรหาข้าราชการและพนักงานราชการเพิ่มอีก 86 คน เกิดข้อสรุปการผลักดันงานน้ำ 3 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่ การจัดทำคลังข้อมูล การตอบโจทย์ยุทธศาสตร์แบบองค์รวมในทุกมิติ และกฎหมายน้ำ และรับสมัครกำลังคนคุณภาพ เช่น นักเรียนทุนรัฐบาล ข้าราชการ HIPPs นักบริหารการเปลี่ยนแปลง และคลื่นลูกใหม่ราชการไทย มาร่วมทำงานใน 3 สาขาดังกล่าว
มีมติเอกเป็นเอกฉันท์ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ… นำขึ้นทูลเกล้าฯ สามเสาหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ครบองค์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ใน 4 ภูมิภาค ทำหน้าที่กำกับดูแลครอบคลุม 22 ลุ่มน้ำใหม่ พร้อมตั้ง 2 หน่วยงานในส่วนกลางดูแลด้านกฏหมายขับเคลื่อน พ.ร.บ.น้ำ และด้านต่างประเทศประสานข้อมูลน้ำสากล